CRM Services ที่มาพร้อมกับโปรแกรมคลินิก DoctorEase

CRM Services เปรียบเสมือนฟีเจอร์ต่าง ๆ ของโปรแกรม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในสร้างประสบการณ์การบริการที่ดีให้กับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับลูกค้า สามารถช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิม เปลี่ยนจาก ลูกค้าขาจรให้กลายมาเป็นลูกค้าประจำ โดยอาศัยข้อมูลของลูกค้าที่ถูกเก็บไว้ในระบบ CRM มาทำการตลาดและพัฒนาบริการ

โปรแกรมคลินิก จึงได้มีการพัฒนา CRM Services ขึ้นเพื่อตอบโจทย์สำหรับธุรกิจคลินิกความงามโดยเฉพาะ หัวใจหลักสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ คือ การบริการที่สามารถมัดใจลูกค้าไว้ได้ โดยเฉพาะฐานลูกค้าเดิม เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจ วันนี้จึงมาขอนำเสนอฟีเจอร์ CRM เด่น ๆ ที่ไว้ใช้มัดใจลูกค้ากันครับ

รู้จัก DoctorEase ที่ตอบโจทย์ CRM ธุรกิจคลินิก ความงาม

ตัว CRM Services พัฒนาโดย DoctorEase บริษัทที่เข้าใจธุรกิจคลินิกความงาม จึงได้สร้างฟีเจอร์ CRM ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร ในมุมการทำงาน CRM Services จะช่วยให้บุคลากรในองค์กรสามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ส่วนในมุมของลูกค้าก็จะสามารถเข้าถึงคลินิกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ความสามารถของ CRM Services พัฒนามาเพื่อธุรกิจคลินิกความงามหรือธุรกิจบริการโดยเฉพาะ ด้วยฟีเจอร์ที่ทำมาตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้หลากหลายฟีเจอร์ด้วยกัน โดยจะช่วยทำการตลาด รักษาฐานลูกค้า ดึงลูกค้าใหม่ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและบุคลากรในองค์กรCRM คืออะไร ? ตามอ่านได้ที่บทความนี้ : ระบบ CRM

รวมฟีเจอร์ CRM เด่น ๆ ที่คลินิกไว้มัดใจลูกค้า

โปรแกรมคลินิก DoctorEase มีระบบเก็บข้อมูลของลูกค้า และ CRM Services ที่เป็นตัวช่วยและมีประโยชน์สำหรับธุรกิจคลินิกความงามหลากหลายฟีเจอร์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ดึงดูดลูกค้าใหม่ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยมีฟีเจอร์เด่น ๆ ดังนี้

สร้างคอร์ส แพ็คเกจ ได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย

CRM Services ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยเมื่อต้องการ สร้างคอร์ส แพ็คเกจ ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงกรองข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการออกมา เช่น ช่วงอายุ เพศ อาชีพ เป็นต้น ซึ่งคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวกันก็มักจะมีความต้องการที่คล้ายกัน จากนั้นก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการตลาดให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้เลย

ระบบสมาชิก สะสมแต้ม ที่ทำได้ง่าย ๆ ผ่าน Line

รักษากลุ่มลูกค้าเดิมด้วยการใช้ระบบสมาชิกหรือสะสมแต้ม เพื่อให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ สร้างระดับสมาชิกและนำแต้มมาแลกของรางวัล บางที่จะใช้การสะสมแต้มโดยการประทับตราสัญลักษณ์ในบัตรสะสมแต้ม เพื่อเป็นการนับแต้ม ซึ่งอาจจะเกิดการสูญหายของบัตรสมาชิก และ การเสื่อสภาพของบัตรสมาชิก

แต่ CRM Services ของ DoctorEase เพิ่มเป็นสมาชิกและสะสมแต้มได้ง่าย ๆ เชื่อมต่อกับ Line OA ของลูกค้า ลดโอกาสการทำบัตรสะสมแต้มหาย ลดขั้นตอนการสมัครสมาชิก ง่าย สะดวกต่อลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

ส่งโปรโมชั่น การตลาด แบบอัตโนมัติ

การส่งเชิญชวนหรือส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้าสนใจ ช่วงเวลาส่งก็เป็นตัวแปลที่จะทำให้ลูกค้าสนใจมาใช้บริการ เมื่อเราทราบกลุ่มเป้าหมายของเราแล้วก็สามารถตั้งค่าเลือก วัน เวลา ส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้าได้อย่างง่าย ๆ ด้วย CRM Services ที่สามารถ ส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้าผ่าน Line ได้อัตโนมัติ ตลอด 24 ชม. และยังสามารถส่งได้ทีละหลายคนอีกด้วย ช่วยประหยัดเวลาได้เยอะเลยทีเดียว

Recall ลูกค้าให้กลับมาใช้ซ้ำ ! เปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าประจำ

หากมีลูกค้าใหม่หลงเข้ามาใช้บริการ สามารถ ดึงลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำได้ ด้วย CRM Services นี้ ยกตัวอย่าง หากมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการฉีดฟิลเลอร์ ด้วยฟิลเลอร์ที่มีอายุ 6 เดือน เราสามารถกรองข้อมูลได้ว่าลูกค้าท่านไหนฉีดฟิลเลอร์เกิน 6 เดือนไปแล้ว และเรียกลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำได้ เพียงแค่กรองข้อมูลแค่คลิกเดียว ไม่ต้องเสียเวลาเช็คข้อมูลหารายคน ช่วยเพิ่มโอกาสสร้างรายได้และเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้กลายมาเป็นลูกค้าประจำ

เข้าถึงง่าย ด้วยการให้บริการลูกค้าผ่าน Line OA ของคลินิก

โดยปกติการสื่อสารระหว่างลูกค้าและพนักงาน อาจจะต้องใช้การโทรคุยหรือเข้าไปที่คลินิก ซึ่งทำให้ลูกค้าต้องเสียเวลาและเสียค่าโทรศัพท์ แต่ CRM Services นี้ ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงบริการของคลินิกได้ง่ายขึ้นด้วยการบริการผ่าน LINE OA ของคลินิก

แจ้งเตือนคอร์ส การนัดหมาย ดูตารางทำงานแพทย์ ได้ทุกที่

CRM Services ฟีเจอร์นี้ ช่วยส่งการแจ้งเตือน เช่น การใช้คอร์ส วันหมดอายุคอร์ส สถานะคงเหลือของคอร์ส แจ้งเตือนและยืนยันนัดหมาย เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อลูกค้าและกลับมาใช้บริการอีกเช่นเคย นอกจากนี้ ยังสามารถดูตารางการทำงานของแพทย์ได้ทุกที่อีกด้วย

นัดหมายออนไลน์ สะดวก ไม่ต้องโทรจอง

เมื่อลูกค้าแอด Line เป็นสมาชิกกันแล้ว ก็สามารถปักหมุดเลือกวันทำนัดหมายที่สะดวก หรือยกเลิกการนัดหมายได้เองง่าย ๆ ผ่าน LineOA ของร้าน ซึ่งเชื่อมกับระบบคลินิกของ DoctorEase ไม่จำเป็นต้องโทรไปทำนัดที่คลินิกอีกต่อไป หรือถ้าลูกค้าท่านไหนสะดวกโทรนัดหมายก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน

DoctorEase Insights ฟีเจอร์ วิเคราะห์ข้อมูล อย่างละเอียด

DoctorEase Insights เป็น CRM Services ที่ช่วยวิเคราะห์และรายงานข้อมูลเชิงลึกที่ต้องการรู้อย่างละเอียด โดยการกรองข้อมูล ซึ่งจะเห็นแนวโน้มการใช้บริการของลูกค้า เช่น เมื่อลูกค้าเติมฟิลเลอร์หน้าผากแล้ว ก็มักจะเติมฟิลเลอร์ขมับร่วมด้วย เป็นต้น จากข้อมูลก็จะสามารถนำมาทำการตลาดต่อได้ เช่น โปรโมชั่นจับคู่ฟิลเลอร์หน้าผากคู่กับฟิลเลอร์ขมับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเป็นอย่างมาก

” CRM is not a cost, it’s an investment in your business. By providing a better customer experience, you can increase customer loyalty, retention, and ultimately revenue “

ระบบ ERP คืออะไร สรุปไว้ที่นี่แล้ว ฉบับเข้าใจง่าย

ระบบ ERP เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เหมาะกับธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ เนื่องจากมีข้อมูลจำนวนมาก มักเกิดการทำงานที่ซับซ้อนภายในองค์กร ทำให้เกิดความล่าช้า เมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ทำงานช้า ฝ่ายต่อไปก็จะทำงานช้าลงเป็นลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง ไม่ทันความต้องการของลูกค้า ไม่ทันคู่แข่ง

สำหรับนักธุรกิจ อาจจะเคยได้ยินคำว่า ERP กันมาบ้างแล้ว บทความนี้จะมาอธิบายเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วระบบ ERP คืออะไร ? ระบบ ERP ภายในประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? ระบบ ERP กับ ระบบ POS ต่างกันอย่างไร ? ประโยชน์ของระบบ ERP มีอะไรบ้าง ?

ระบบ ERP คืออะไร ?

ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เครื่องมือนี้จะมาช่วยในการวางแผนจัดการทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังคน ด้านเครื่องจักร ด้านวัตถุดิบ รวมไปถึงด้านขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP

โดยระบบ ERP เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลทุกอย่างภายในองค์กรไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นการเชื่อมฐานข้อมูลจากหน่วยงานทุกฝ่าย ทำให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูล ดึงข้อมูลไปใช้ได้ทันที ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยประหยัดเวลา

ระบบ ERP ภายในประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

ระบบ ERP ถือเป็นหนึ่งระบบใหญ่หรือระบบหลัก ที่ภายในจะประกอบไปด้วยหลายระบบย่อย โดยระบบย่อยจะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกันออกไป แต่สุดท้ายแล้วข้อมูลต่าง ๆ ในระบบย่อยนั้นจะถูกเชื่อมโยงกันมาที่ระบบหลักเพื่อการวางแผนบริหารทรัพยากร ระบบ ERP ภายในประกอบไปด้วยระบบย่อย ดังนี้

Group of Asia young creative people in smart casual wear discussing business celebrate giving five after dealing feeling happy and signing contract or agreement in office. Coworker teamwork concept.
  • ระบบการจัดการการเงิน เป็นระบบที่รับข้อมูลเชื่อมโยงมาจากฝ่ายงานต่าง ๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายงานบริหาร ฯลฯ มาคำนวณตัวเลขรายรับและรายจ่าย จากนั้นจึงนำมาสรุปเป็นยอดว่ากำไรหรือขาดทุน พร้อมกราฟแสดงผลที่เข้าใจง่าย
  • ระบบทรัพยากรบุคคล ระบบที่คอยควบคุมดูแลคุณภาพและจำนวนของคนในองค์กร เพื่อให้การทำงานเป็นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การดูแลสวัสดิภาพของบุคลากร การคัดเลือกบุคลากร การประเมินผลงาน การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ เพื่อให้บุคลากรทำงานอยู่ในระบบอย่างมีความสุข และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • ระบบจัดซื้อจัดจ้าง คอยจัดหาสินค้า อุปกรณ์ หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละฝ่ายในองค์กร เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องหามาให้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และจะต้องดูเรื่องเอกสารการซื้อขายต่าง ๆ เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ฯลฯ
  • ระบบการจัดการข้อมูล คอยจัดหาสินค้า อุปกรณ์ หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละฝ่ายในองค์กร เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องหามาให้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และจะต้องดูเรื่องเอกสารการซื้อขายต่าง ๆ เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ฯลฯ
  • ระบบการจัดการข้อมูล ระบบทางด้านการตรวจสอบข้อมูล ขั้นตอนการทำงานและการประเมินผล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ของทุกฝ่าย เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และสามารถดึงข้อมูลของทุกฝ่ายมา เพื่อให้เห็นภาพรวมขององค์กรได้ทั้งหมด จากนั้นสามารถนำข้อมูลไปวางแผนต่อยอด จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในการดำเนินธุรกิจต่อไป
  • ระบบอื่นๆ นอกจากระบบย่อยที่กล่าวมานั้น ยังมีระบบย่อยอื่นๆ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลไปที่ระบบหลัก เช่น ระบบบริหารจัดการลูกค้า ระบบควบคุมความต้องการของวัตถุดิบ ระบบวางแผนความต้องการของสินค้า โดยระบบเหล่านี้รวมถึงระบบที่กล่าวมาข้างต้น สามารถดึงข้อมูลมาใช้งานร่วมกันจากระบบหลักได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสต๊อกสินค้า ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลสถานะการทำงานของแต่ละฝ่าย เป็นต้น

ระบบ ERP กับ ระบบ POS ไม่เหมือนกัน? แล้วต่างกันอย่างไร?

ระบบ ERP กับ ระบบ POS นั้นมีความคล้าย แต่ไม่เหมือนกัน สองระบบนี้จะมีโฟกัสของการทำงานที่แตกต่างกัน หากยังสงสัยว่าโฟกัสของการทำงานสองระบบนี้ต่างกันอย่างไร ? ธุรกิจของคุณควรใช้ระบบไหนถึงเหมาะสม ? ระบบ ERP กับ ระบบ POS แตกต่างกัน ดังนี้

  • ระบบ ERP คือ ระบบที่โฟกัสการทำงานเพื่อจัดการข้อมูลภายในองค์กรระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลที่ฝ่ายต่าง ๆ ป้อนไว้ เก็บไว้ใระบบส่วนกลาง เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึง นำข้อมูลไปใช้และทำงานร่วมกันได้ในระบบเดียวกันได้อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เมื่อฝ่ายจัดซื้อปิดงบการซื้อเสร็จ ฝ่ายบัญชีสามารถนำตัวเลขไปคำนวณต่อได้เลย โดยดึงข้อมูลจากในระบบส่วนกลางที่ฝ่ายจัดซื้อป้อนไว้ ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น
  • ระบบ POS คือ ระบบที่โฟกัสการทำงานเพื่อบริการจัดการลูกค้าหน้าร้านระบบ POS จะเน้นไปทางการให้บริการลูกค้าที่จุดขาย เช่น ข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้า ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลการชำระเงิน ฯลฯ ระบบนี้จึงต้องมีข้อมูลที่ใช้สำหรับการขายหน้าร้านเป็นหลัก ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ก็จะต้องมีข้อมูลสินค้า ราคา สต๊อกสินค้า ข้อมูลการจัดส่ง ฯลฯ ถ้าเป็นธุรกิจบริการ ก็ต้องมีข้อมูลบริการ ค่าบริการ โปรโมชั่น วันเวลาที่ใช้บริการ ฯลฯ เป็นต้น

ประโยชน์ของระบบ ERP

ธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ลูกค้ามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ทุกอย่างต้องทันต่อความต้องการของลูกค้า และเหนือกว่าคู่แข่ง จึงต้องมีการจัดการบริหารทรัพยากรในองค์กรให้ดี แต่การที่องค์กรเริ่มมีขนาดใหญ่การจัดการจึงเป็นไปได้ยาก ซึึ่งระบบ ERP เป็นตัวเครื่องมือช่วยที่ดี ยกตัวอย่างประโยชน์ของระบบ ERP ดังนี้

เพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน ระบบ ERP จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น เนื่องจากการนำข้อมูลขอแต่ละฝ่ายมาใช้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทันคู่แข่งทันความต้องการของลูกค้า และเทคโนโลยีสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ไม่มีความเหนื่อยล้า เกิดความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์

ข้อมูลอัพเดทแบบเรียลไทม์ การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำงานเสร็จแล้วสามารถป้อนข้อมูลการทำงานลงฐานข้อมูลกลางได้เลย เพื่อให้ฝ่ายอื่น ๆ เห็นสถานะการทำงานและผลลัพธ์ จากนั้นฝ่ายที่ต้องทำงานต่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

ความคุ้มค่าของผลลัพธ์ จากแต่ก่อนต้องใช้เวลานานในการจัดทำ รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้เป็นรายงานข้อสรุปออกมา แต่ได้ผลลัพธ์ที่ได้ ถูกนำไปใช้เพียงครู่เดียว ไม่คุ้มค่ากับที่เสียเวลากับการทำงานเยอะ ๆ ระบบ ERP นี้จะช่วยลดเวลาการทำงานเพื่อให้เวลาที่เสียไปและผลลัพธ์สอดคล้องกัน และเกิดความคุ้มค่า

การควบคุมงานให้อยู่ในแผน การนำระบบ ERP ก็เพื่อวางแผนควบคุมการบริหารทรัพยากร เช่น ปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ เวลาที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งก็จะเกี่ยวเนื่องไปถึงการคาดการณ์ใช้จ่ายค่าแรงและค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าหรือบริการ จึงต้องควบคุมให้อยู่ในแผน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกอัพเดตไว้ในระบบตลอด หากเมื่อเกิดปัญหาก็จะสามารถเห็นและแก้ปัญหาได้ทัน

คำนวณค่าใช้จ่าย เป็นการคำนวณ บันทึกต้นทุน เช่น ต้นทุนการผลิต ค่าแรง ค่าอุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลตรงนี้ไปหาทางแก้ปัญหาการลดต้นทุนได้ต่อไป และการตีมูลค่าของสินค้าตอนสิ้นงวดไม่ยุ่งยาก เนื่องจากทุกขั้นตอนการทำงานมีบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เช่น จำนวนเหลืองานที่ยังค้าง จำนวนการเบิกวัตถุดิบ ค่าแรงที่ใช้ ฯลฯ สามารถนำข้อมูลพวกนี้ทำเป็นรายงานตอนสิ้นงวดได้เลย

ความปลอดภัยของข้อมูล ระบบ ERP เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีความสามารถเฉพาะ เช่น หากเกิดไฟดับ ก็สามารถกู้คืนข้อมูล มาได้, การ Backup ข้อมูล, การย้อนกลับไปแก้ไขข้อมูลหากเกิดข้อผิดพลาด การป้องกันการโจรกรรมข้อมูล, ระบบข้อมูลแบบ Cloud สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกที่ เป็นต้น

ยกตัวอย่างการนำ ระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจบริการ

การนำระบบ ERP มาใช้กับธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน ของบริษัท Good Idea Interior Design Co. LTD โดยผู้บริหารยุคใหม่ที่มีมุมมองว่าการนำระบบ ERP สามารถมาช่วยควบคุมการทำงาน และพัฒนาองค์กร เนื่องจากเล็งเห็นว่าระบบ ERP สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย ติดตามต้นทุนได้ง่ายขึ้น

โดยทางผู้บริหารมองว่าระบบ ERP เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีมาตรฐาน เช่นเดียวกันกับที่องค์กรระดับกลางถึงโตใช้กันอยู่แล้ว เช่น AIS, ปตท., หรือบริษัทมหาชนต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าระบบนี้ช่วยกำจัดต้นทุนได้ง่ายและทำให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย

สรุปท้ายบท ระบบ ERP แบบสั้นๆ

ระบบ ERP เหมาะกับทุกองค์กรธุรกิจ จะช่วยจัดการบริหารทรัพยากรภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ข้อมูลทันสมัย ทำให้เห็นปัญหาในแต่ละขั้นตอนการทำงานและจะทำให้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที สะดวกเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกที่ เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย

5 เทคนิคเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจคลินิก ปังกว่าเดิม !

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายอดขาย คือสิ่งที่บ่งบอกว่าธุรกิจของเรานั้นประสบความสำเร็จมากแค่ไหน เพราะยิ่งยอดขายสูง นั่นเท่ากับว่ารายรับของธุรกิจเราก็ยิ่งสูงมากเช่นกัน นอกจากการใช้ โปรแกรมคลินิก, การยิง Ads ในเฟสบุ๊ค, การทำ SEO การทำการตลาดออนไลน์ หรือจะเป็นการจ้าง Influencer ผ่านช่องทางต่างๆแล้ววิธีไหนละ ที่จะช่วยให้เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจคลินิก ที่มีการแข่งขันสูงพอๆกับธุรกิจทั่วไป บทความนี้จะแนะนำ 5 เทคนิคที่จะช่วยทำให้ธุรกิจคลินิกเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นกว่าเดิม

กลยุทธ์เด็ดเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจคลินิก สร้างกำไรทะลุเป้า

ธุรกิจคลินิกมีการแข่งขันที่สูงมากเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ การเพิ่มยอดขายจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองที่มากขึ้น ธุรกิจคลินิกจึงเป็นทางเลือกสำหรับคนทั่วไปที่อยากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนานเมื่อเทียบกับโรงพยาบาล ทำให้คลินิกต้องหากลยุทธ์ของตัวเองที่จะช่วยให้เพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตและนำหน้าคู่แข่งได้ และเทคนิคในการเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจคลินิก ได้แก่

1.สร้างตัวตนแบรนด์คลินิกให้น่าเชื่อถือ ชัดเจน มีเรื่องราวให้น่าจดจำ

การสร้างตัวตนให้แบรนด์ มันคือการที่เรา สร้างมุมมองที่ดีต่อลูกค้า ส่งมอบความรู้สึก ตัวตนที่แตกต่างไปสู่ใจของลูกค้า และมันคือสิ่งที่ลูกค้าจะพูดถึงแบรนด์ สิ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจคลินิกของเราได้ เพียงแค่เราทำภาพลักษณ์ของแบรนด์คลินิกให้ดี มีความน่าเชื่อถือ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหาจุดยืน ที่บ่งบอกว่าคลินิกของเราแตกต่างจากคลินิกอื่นๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การศึกษาผู้ชม คู่แข่ง และจุดแข็งของแบรนด์คลินิก

สิ่งแรกในการสร้าง Brand Identity ให้กับคลินิก คือ การศึกษาตลาด ซึ่งการที่จะทำสิ่งนี้ได้ เราต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

  • ลูกค้า (Audience)เป็นเรื่องธรรมดาที่คนแต่ละคนจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นทำให้เราไม่สามารถเสนอสินค้าและบริการที่ถูกใจทุกคนได้ ดังนั้นเราควรรู้จักลูกค้าของเราให้ดี เรียนรู้ว่าเขาต้องการอะไรและมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเขาเหล่านั้น นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำให้แบรนด์คลินิกของเราชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ
  • รู้จุดแข็งของเรา และรู้จักคู่แข่ง (Value Proposition & Competition)เป็นเรื่องธรรมดาที่คนแต่ละคนจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นทำให้เราไม่สามารถเสนอสินค้าและบริการที่ถูกใจทุกคนได้ ดังนั้นเราควรรู้จักลูกค้าของเราให้ดี เรียนรู้ว่าเขาต้องการอะไรและมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเขาเหล่านั้น นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำให้แบรนด์คลินิกของเราชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ
  • บุคลิกภาพของแบรนด์ (Personality)เราสามารถสร้างภาพลักษณ์หรือบุคลิกภาพของแบรนด์ได้ โดยใช้รูปแบบ สี และภาพ เพื่อแสดงความเป็นแบรนด์ของเราออกมา และภาพเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับโทน หรืออารมณ์ความรู้สึกของแบรนด์ที่จะสื่อถึงลูกค้าของเราอีกด้วย

คาแรกเตอร์ของแบรนด์คลินิกที่น่าจดจำ ทำให้นึกถึงง่าย

การที่แบรนด์คลินิกของเราดูโดดเด่นกว่าที่อื่น การเพิ่มยอดขายก็ไม่ใช่เรื่องยาก ด้วยการทำให้แบรนด์ของเรามีชีวิตและตัวตนขึ้นมาด้วยการ สร้างคาแรกเตอร์ของแบรนด์คลินิก เช่น การสร้างโลโก้และเทมเพลต สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยเสนอความเป็นตัวตนของแบรนด์ และช่วยเพิ่มความน่าสนใจของแบรนด์ต่อลูกค้าด้วย

การสื่อสารที่จะใช้กับผู้ชมทางโฆษณาและโซเชียลมีเดีย

การสื่อสารที่ดีกับลูกค้าก็เป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ และการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบันคือ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพในทุกๆด้าน ทั้งโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หรือผ่านโซเชียลมีเดีย เพราะคอนเทนต์ทุกชิ้นที่เราเผยแพร่ จะสะท้อนความเป็นแบรนด์คลินิกออกมาให้ลูกค้าได้รับรู้

มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือจากลูกค้า

การที่แบรนด์คลินิกของเรามีแพทย์เฉพาะทางในการรักษา จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ หากเราใช้จุดนี้ในการโปรโมทคลินิกของเรา จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้นในการใช้บริการที่คลินิก และในอนาคตจะส่งผลถึงการกลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย

รีวิวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการจริง

การให้ลูกค้ามารีวิวหลังจากใช้สินค้าหรือบริการจริงๆ ก็เป้นที่ทางเลือกที่จะ่ชวยเพิ่มยอดขายได้ เพราะปัจจุบันการเลือกใช้สินค้าหรือบริการ ลูกค้าส่วนใหญ่จะมองหารีวิวเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั่นๆเป็นอันดับแรก นี่จึงเป็นจุดที่เราควรทำมาใช้เพื่อสร้างภาพจำที่ดีให้กับแบรนด์ของเรา ยิ่งคลินิกของเรามีผลรีวิวที่ดีเยอะ ยิ่งทำให้ลูกค้าเชื่อถือคลินิกของเรามากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ใช้ Storytelling เป็นตัวช่วย

การที่เราสามารถเล่าเรื่องราวของแบรนด์ไปพร้อมกับการเพิ่มยอดขายได้ ถือว่าเป็นกำไรทางธุรกิจของเราอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยการใช้ Storytelling เข้ามาช่วย เพื่อเล่าเรื่องราวพร้อมกับทำให้ลูกค้าเข้าใจถึงจุดขายของแบรนด์ได้พร้อมกันๆ เมื่อเรื่องราวที่เราเล่าออกไป ลูกค้าได้ฟังและอินไปกับมันจะช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ และการเพิ่มยอดขายก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

รู้ว่าควรหลีกเลี่ยงอะไร

แม้ว่าคุณจะทำตามขั้นตอนทั้งหมดของการสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ แต่เราก็มีสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงนั่นคือ อย่าเลียนแบบคู่แข่ง ถึงแม้ว่าคู่แข่งจะมีสินค้าหรือบริการเดียวกันกับคลินิกของเรา น่าเอาเป็นแบบอย่างจนทำให้เราอยากทำตาม แต่นั่นจะทำให้แบรนด์ของเราไปซ้ำและเหมือนเดินตามเงาของคู่แข่งได้ แต่ว่าเราสามารถนำความสำเร็จของคู่แข่งมาวิเคราะห์ต่อยอดเป็นความคิดใหม่ๆ นั่นจะทำให้แบรนด์คลินิกของเราโดดเด่นและประสบความสำเร็จได้

2.สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มัดใจได้อยู่หมัด

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์คลินิกของเราได้แบบระยะยาว โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทั้งในด้านสินค้าและบริการ รวมไปถึงบริการหลังการขาย และสิ่งที่ควรทำเพื่อให้ความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นนั่นคือ

ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าให้ได้

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาวเพื่อรักษายอดขาย จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกค้ามองหา และเราจะต้องหาวิธีการเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ เช่น การที่แอดมินสามารถตอบแชทลูกค้าได้ไว ซึ่งช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ ซึ่งนั่นจะช่วยตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ทำให้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์คลินิกกับลูกค้าได้นั่นเอง

พัฒนาทักษะของพนักงาน

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาวเพื่อรักษายอดขาย จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกค้ามองหา และเราจะต้องหาวิธีการเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ เช่น การที่แอดมินสามารถตอบแชทลูกค้าได้ไว ซึ่งช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ ซึ่งนั่นจะช่วยตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ทำให้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์คลินิกกับลูกค้าได้นั่นเอง

นำระบบ CRM มาใช้

เมื่อธุรกิจคลินิกของเรามีลูกค้ามากขึ้น การบริหารจัดการลูกค้าแบบ Manual อาจจะไม่ตอบโจทย์และอาจทำให้ไม่สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ทำให้เราเพิ่มยอดขายได้ยากมากขึ้น เราจึงควรใช้ ระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management จะช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การนำดาต้าของลูกค้าเก่ามาวิเคราะห์ เพื่อหาว่าสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการคืออะไร ทำให้เราสามารถเพิ่มโอกาสที่จะมัดใจลูกค้าได้มากขึ้น

ดูแลลูกค้าประจำเป็นอย่างดี

ลูกค้าประจำถือเป็นลูกค้าที่สำคัญกับธุรกิจของเรามากๆ เพราะพวกเขาเหล่านี้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์คลินิกของเรา และช่วยรักษายอดขายของเรามาอย่างยาวนาน เราจึงควรดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ให้เป็นอย่างดี เช่น การออกโปรโมชั่นที่ดึงดูดให้ลูกค้าเก่ากลับมาใช้บริการ หรือการให้ของสมมาคุุณต่างๆเมื่อลูกค้าใช้จ่าย จะช่วยให้แนวโน้มในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการจากเราในครั้งต่อๆไปก็สามารถเกิดขึ้นได้เลย โดยไม่ต้องมีการลงทุนการตลาดใดๆ

ใส่ใจกับความคิดเห็นของลูกค้า

หากเราต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อรักษายอดขาย เราก็ไม่ควรที่จะมองข้ามความคิดเห็นของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นด้านบวกหรือความคิดเห็นด้านลบ หากเป็นความคิดเห็นด้านที่ไม่ดี เราก็ต้องปรับปรุงในจุดๆนั้นที่ลูกค้าได้บอกมา ในส่วนความคิดเห็นที่เป็นด้านบวกเราก็รักษามาตรฐานนั้นไว้และทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้การบริการในครั้งต่อไปเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดต่อลูกค้า สิ่งนี้จะทำให้แบรนด์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้านั่นเอง

3.แบ่งกลุ่มลูกค้าด้วยเทคนิค RFM

ประวัติการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้ หากเรารู้วิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการใช้ RFM Model นั่นเอง โดยวิธีการคือ เราจะบันทึกพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามาแบ่งเป็นกลุ่ม เพื่อหาว่าลูกค้ากลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่เราควรให้ความสนใจมากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำการตลาด ซึ่งข้อมูลที่เราจะเก็บจากลูกค้า ได้แก่

เมื่อเราสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ด้วยเทคนิค RFM แล้ว จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มยอดขายให้กับคลินิกของเรา และยังช่วยทำให้ใช้ทรัพยากรเงิน เวลา และกำลังคนไปอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยจะสรุปข้อดีของเทคนิค RFM ได้ดั่งนี้

  • ทำให้รู้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนสำคัญต่อธุรกิจของเรา
  • ทำให้สามารถคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าจากดาต้าที่เรามีอยู่
  • ทำให้สามารถส่งโปรโมชั่นให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

เทคนิค RFM ทำให้เรารู้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนที่เราควรจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และลูกค้ากลุ่มไหนที่เราสามารถปล่อยเขาไปได้ นอกจากนั้นยังช่วยให้ทำการตลาดคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เพราะเราจะสามารถส่งโปรโมชั่นที่ถูกใจลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

4.เพิ่มยอดขายด้วยการสร้างโปรโมชั่น

การเพิ่มยอดขายด้วยวิธีการจัดโปรโมชั่นอาจจะเป็นวิธีที่ง่ายและหลายคนมองว่าได้ผลมากที่สุด ในแง่ของปริมาณการขายก็อาจจะใช่ แต่ในแง่ของรายได้นั้นบางทีอาจจะสวนทาง ยิ่งลดราคามากเท่ากับว่ากำไรที่เราจะได้ก็จะลดลงเช่นกัน นั่นอาจจะส่งผลทำให้แบรนด์คลินิกของเราดูด้อยคุณภาพได้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้โดยที่ไม่ต้องลดราคาเลย ซึ่งได้แก่

กำหนดราคาด้วยจิตวิทยา หลักการตั้งราคาที่ดึงดูดลูกค้าไม่จำเป็นต้องลดราคาเพียงอย่างเดียว ทฤษฎีจิตวิทยาบอกว่าสมองของคนส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา ดังนั้นเราสามารถใช้จุดนี้ในการตั้งราคาได้ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าราคาปกติราคา 50 บาท คนที่มองป้ายราคาก็จะอ่านจากทางซ้ายไปทางขวา ทำให้คิดว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาหลัก 5 ขึ้นไป แต่ถ้าเราเปลี่ยนราคาเป็น 49 บาท จะช่วยทำให้ความรู้สึกของคนที่อ่านรู้สึกว่าราคาของสินค้าอยู่ที่หลัก 4 มากกว่าอยู่ดี วิธีนี้จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

การขายสินค้าแบบมีเงื่อนไข หลักการของวิธีนี้คือ การนำเสนอส่วนลดที่น่าสนใจ แถมยังดึงดูดให้ลูกค้าใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อจะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นนี้เมื่อซื้อครบ 700 บาท ได้รับส่วนลด 25% ซึ่งการใช้โปรโมชั่นนี้จะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าใช้จ่ายให้ครบ 700 บาทมากขึ้น เพื่อที่จะได้รับส่วนลด 25% นั่นเอง

การขายสินค้าแบบ Up-Selling Up-Selling คือ การเพิ่มยอดขายที่ซับซ้อน เพราะมันเป็นการเน้นขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงกว่าชิ้นอื่นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสินค้าชิ้นนั้นจะต้องมีความพิเศษมากกว่าสินค้าที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจอยู่ ฉะนั้นตรงจุดนี้จะเป็นหน้าที่ของผู้ขาย ที่จะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าการเพิ่มเงินนั้นเขาจะได้รับสินค้าหรือบริการที่พรีเมียมกว่าเดิมนั่นเอง

ซื้อ 1 แถม 1 เป็นการจัดโปรโมชั่นที่เล่นกับจิตใจของผู้ซื้อ นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายแล้ว ยังเป็นวิธีการระบายสินค้าที่ค้างสต๊อกไปในตัวด้วย โดยสินค้าที่แถมฟรีอาจจะไม่ใช่สินค้าที่ขาย อาจจะเป็นสินค้าทดลองจากตัวอื่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักสินค้าชิ้นอื่นด้วย

กดไลก์ กดแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นการจัดโปรโมชั่นที่เล่นกับจิตใจของผู้ซื้อ นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายแล้ว ยังเป็นวิธีการระบายสินค้าที่ค้างสต๊อกไปในตัวด้วย โดยสินค้าที่แถมฟรีอาจจะไม่ใช่สินค้าที่ขาย อาจจะเป็นสินค้าทดลองจากตัวอื่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักสินค้าชิ้นอื่นด้วย

5. สม่ำเสมอ และ recall ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ

การขายสินค้าหรือบริการได้นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่จะรักษายอดขายได้นั่นเป็นเรื่องที่ยาก หากเราสามารถทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการได้ จะช่วยให้แบรนด์คลินิกของเราสามารถคงอยู่และเติบโตต่อไปได้ และลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นลูกค้ากลุ่มที่ภักดีกับแบรนด์ของเรา นอกจากนั้นแล้วจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ภาพจำที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย ซึ่งเราจะมาแชร์วิธีการทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ

สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดี เราต้องทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมาดี ทั้งตัวสินค้าและบริการ รวมไปถึงการให้บริการต่างๆ ทั้งตอนก่อนซื้อสินค้าและหลังซื้อสินค้า นอกจากนั้นยังรวมไปถึงคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ การโฆษณา ตรงจุดนี้จะช่วยให้เกิดภาพจำที่ดีต่อลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อสินค้าซ้ำกับเรา และยังช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย เมื่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมาดีการเพิ่มยอดขายก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

สร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าและบริการ ความโดดเด่นของสินค้าและบริการจะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำ ถ้าเกิดสินค้าของเราโดดเด่นมากกว่าสินค้าคู่แข่ง ภาพจำของลูกค้าก็จะยิ่งชัดเจนขึ้น และตรงจุดนี้ยังเป็นข้อดีที่จะช่วยให้ลูกค้ารายใหม่ได้รู้จักสินค้าของเรามากยิ่งขึ้นด้วย

การให้บริการหลังการขาย หากสินค้าและบริการของเราดีมากแค่ไหน แต่การบริการหลังการขายของเราแย่ ลูกค้าก็อาจจะตัดสินใจไม่มาใช้บริการซ้ำอีกรอบ ดังนั้นแล้วการบริการหลังการขายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับแบรนด์คลินิกของเรา เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าและการบริการของเรา หลังจากนั้นแล้วลูกค้าก็จะกลับใช้บริการกับแบรนด์ของเราอย่างสม่ำเสมอ

ธุรกิจคลินิกในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงมาก หากเราสามารถทำให้แบรนด์คลินิกของเรารักษายอดขายได้ตลอด หรือสามารถเพิ่มยอดขายได้เรื่อยๆ จะทำให้แบรนด์คลินิกของเราเติบโตขึ้น และทำให้สามารถนำหน้าคู่แข่งรายอื่นๆได้ หากใช้ โปรแกรมคลินิกเวชระเบียน Paperless ควบคู่กับเทคนิคภายในบทความนี้ จะทำให้ยอดขายของแบรนด์คลินิกทะลุเป้ามากกว่าเดิมแน่นอน

เวชระเบียน Paperless ตอบโจทย์คลินิก ไม่ต้องรอแฟ้ม!

ปัญหาที่เหล่าธุรกิจคลินิกและโรงพยาบาลพบเจออยู่ทุกที่ และยังมีให้เห็นในปัจจุบัน เรื่องปัญหาเวชระเบียน พื้นที่เก็บไม่พอ ข้อมูลสูญหาย ทำให้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลประวัติผู้ป่วย เพราะทางคลินิกหรือโรงพยาบาล จดบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่ง แตกต่างจาก “เวชระเบียน Paperless” ที่กำลังมาแรงสำหรับผู้ประกอบการสถานพยาบาลและคลินิก

เวชระเบียน Paperless คือ ระบบแฟ้มเอกสารทางการแพทย์ สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนเวชระเบียนแบบทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่างและเป็นประโยชน์มากขึ้นอย่างชัดเจน คือ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกจดและบันทึกเข้าระบบโดยใช้ไอแพดเพียงเครื่องเดียว ช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นหลายเท่า

นอกจากนี้ เวชระเบียน Paperless ยังช่วยเก็บข้อมูลข้อมูลส่วนตัวผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย ด้วยระบบ Cloud ส่วนตัว หากใครยังมีข้อสงสัยว่าเวชระเบียน Paperless จะช่วยธุรกิจคลินิกอย่างไร ? เหมาะกับคลินิกยุคนี้อย่างไร ? ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ครับ

Paperless เวชระเบียนสมัยใหม่ เหมาะกับคลินิกยุคนี้

เวชระเบียน Paperless ถือได้ว่าเป็นเวชระเบียนสมัยใหม่ ที่คลินิกเริ่มใช้งานแล้วในช่วงนี้ ทำให้ค้นหาข้อมูล จดบันทึกข้อมูล จัดเก็บข้อมูลห้องผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เช่น ผลแลป, สัญญาณชีพจร, ความดัน, Tooth Chart, กระบวนการทำกายภาพบำบัด ฯลฯ ช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการทำงานของบุคลากร ตัดปัญหาการรอแฟ้มเอกสาร ตอบโจทย์คลินิกทุกรูปแบบ ด้านของผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษาที่เร็วขึ้นด้วย

ในด้านการตลาด เวชระเบียน Paperless ที่อยู่ในโปรแกรมคลินิกที่ดี ก็ยังสามารถทำประโยชน์ได้อีกมาก เช่น เก็บข้อมูลการทำธุรกรรม, ความสนใจในบริการของคลินิก, การเก็บข้อมูลว่ามารู้จักธุรกิจของคุณจากช่องทางไหน แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทำการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทำ Data driven นำข้อมูลมาประกอบในการทำการตลาดได้อีกมากมากเลยทีเดียว

เวชระเบียน Paperless จะช่วยธุรกิจคลินิกอย่างไร ?

เวชระเบียน Paperless เป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจคลินิก ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หรือต่อตัวผู้ป่วยเอง สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และยังเป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดอีกด้วย นอกจากนี้เวชระเบียน Paperless ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจคลินิก ดังนี้

บันทึกข้อมูลเวชระเบียนได้ครบ สมบูรณ์ ปลอดภัย

เวชระเบียน Paperless จะช่วยให้การจดบันทึกข้อมูลนั้นง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นการจดบันทึกแบบดิจิตอล สามารถพิมพ์หรือเขียนได้โดย Apple Pencil เหมือนกับการจดใส่กระดาษ แต่การจัดเก็บข้อมูลนั้นจะมีความครบถ้วน และมีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้บนระบบเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว และสามารถสำรองข้อมูลได้ตลอด

ลดระยะการรอคอยของผู้มาใช้บริการ ไม่ต้องรอแฟ้ม

โดยปกติแล้วสถานพยาบาลหรือคลินิคสมัยก่อน มักจะใช้การเขียนเอกสารลงบนกระดาษ ทำให้เวลาที่มีผู้ป่วยมาติดต่อ จะต้องมีการเขียนเอกสาร เดินหาแฟ้มผู้ป่วยที่ห้องเก็บเอกสาร การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้องเอกสาร ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลาในการรอบุคลากรจัดหาแฟ้มข้อมูล

ถ้าหากใช้เวชระเบียน Paperless ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป เนื่องจากบุคลากรจะสามารถค้นหาข้อมูลของผู้ป่วยจากไอแพด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว ประวัติการรักษา ผลแลป ฯลฯ ผ่านระบบเวชระเบียน Paperless ได้เลย ต้องเสียเวลาในการเดินแฟ้ม

ลดงบประมาณในการเบิกเอกสารที่เป็นกระดาษ

เวชระเบียน Paperless เป็นเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ ก็จะสามารถลดงบประมาณในการเบิกเอกสารที่เป็นกระดาษไปได้ ต่างจากคลินิกที่ทำเวชระเบียนโดยใช้เอกสารแบบกระดาษ จำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถ้าหากมีลูกค้าเป็นหลักร้อยเป็นต้นไป ค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษก็จะมากขึ้นตาม

เก็บข้อมูลเวชระเบียนเป็น Digital กระดาษเทียบไม่ติด!

การใช้เวชระเบียน Paperless สามารถจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ต่าง ๆ ในรูปแบบ Digital ไว้บนไอแพดได้เลย ไม่จำเป็นต้องหาที่เก็บเอกสารกระดาษ ปลอดภัยกว่า ทันสมัยกว่า ยกตัวอย่าง บางคลินิกมักมีปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บเอกสาร จากจำนวนผู้ป่วยที่มีมาก เอกสารจึงมีมากขึ้นด้วย การที่ต้องจัดเก็บเอกสารจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ให้กับธุรกิจของคุณ ด้วยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด เวชระเบียน Paperless จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

เห็นได้ว่าเวชระเบียนแบบกระดาษเป็นการทําเวชระเบียนที่ล้าสมัย มีความยุ่งยาก เพิ่มขั้นตอน และใช้เวลาในการทำงาน ไม่เหมือนเวชระเบียน Paperless ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแบบที่เวชระเบียนกระดาษไม่สามารถทำได้

ทันสมัย แพทย์ใช้งานสะดวก สามารถใช้งานเวชระเบียน Paperless บนไอแพด

ข้อมูลในเวชระเบียน Paperless จะถูกเก็บไว้บนระบบ Cloud แพทย์และบุคลากรเข้าถึงได้ง่าย สามารถหยิบไอแพดขึ้นมาวินิจฉัยได้ตลอด จะคุยหรือทำงานที่ไหนก็ได้ เนื่องจากใช้งานสะดวก สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ต่างจากเวชระเบียนแบบเก่า ที่ต้องมีแฟ้มเอกสาร มีความยุ่งยากในการพกพาและต้องคอยมาค้นหาเอกสาร

สรุป เวชระเบียน Paperless

เวชระเบียน Paperless สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนไม่ระเบียนแบบเก่า และยังมีคุณลักษณะเหนือกว่าที่เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในคลินิก ด้านความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย ประหยัดพื้นที่ และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงเป็นเหตุผลที่ควรเปลี่ยนมาใช้เวชระเบียน Paperless

สำหรับใครที่กำลังสนใจเวชระเบียน Paperless ธุรกิจคลินิก ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี สำหรับคลินิกสมัยใหม่ หรือการทำการตลาดที่มีประโยชน์กับการทำธุรกิจของคุณ สามารถติดตามเนื้อหาอื่น ๆ ได้ที่ โปรแกรมคลินิก DoctorEase รับรองว่าได้ข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถนำกลับไปใช้ได้อย่างแน่นอน

Data Driven Marketing กลยุทธ์การตลาด 5.0 ที่พลาดไม่ได้

การทำการตลาดมักเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปฎิเสธไม่ได้ว่า Data Driven Marketing คือ กลยุทธ์การตลาด 5.0 ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นกลยุทธ์ที่นำ Data ของผู้บริโภคมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเก็บ Data ได้จาก ระบบ CRM เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการทำการตลาด และเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

มาทำความรู้จักการทำการตลาดยุคใหม่ Data Driven Marketing คืออะไร ? สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ? การทำ Data Analytics รวมถึง ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่ผู้บริหารธุรกิจและนักการตลาดไม่ควรพลาด สามารถติดตามอ่านได้ในบทความนี้

Data Driven Marketing คืออะไร? สิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรพลาด

Data Driven Marketing คือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (ของลูกค้า) นับว่าเป็นการทำการตลาดแบบใหม่ เนื่องจากข้อมูลคือสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจ รู้จักลูกค้าได้ดี ว่าลูกค้ามีความชอบ ความสนใจ หรือมีความต้องการไปในแนวทางไหน และทำให้เราสามารถเสนอสินค้าและบริการให้ตรงความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกเป็นเหมือนคนสำคัญ เราจึงจะสามารถรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้

การทำ Data Driven Marketing จึงเป็นเหมือนกระบวนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะทราบถึงความต้องการของลูกค้าในทุกแง่มุม ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงการปิดการขาย โดยข้อมูลนั้นอาจจะมาจากการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง, ระบบ CRM หรือจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ หากเป็นธุรกิจบริการก็สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ โดยการใช้ โปรแกรมคลินิก

อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลจากลูกค้าในปัจจุบัน จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act)

Data Driven Marketing สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?

Data Driven Marketing เป็นกลยุทธ์การทำการตลาดที่นิยมมากและมักจะได้ผลอย่างชัดเจนในการทำการตลาดยุคใหม่ เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันทางการตลาดค่อนข้างสูง องค์กรธุรกิจที่มีข้อมูลของลูกค้ามากที่สุด ก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุดเช่นกัน

เนื่องจากมีข้อมูลที่ทำให้เข้าใจพฤติกรรม สิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ และแรงจูงใจในการเลือกสินค้าของลูกค้า จึงสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นประโยชน์ในการนำเสนอ ปรับปรุง พัฒนาสินค้าหรือบริการของธุรกิจตนเอง และการทำ Data Driven Marketing ยังเหมือนเป็นตัวช่วยในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีกว่าการตลาดแบบดั้งเดิมอีกด้วย

รู้จักการทำ Data Analytics

เนื่องจากข้อมูลของลูกค้ามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดยุคใหม่มากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงเริ่มหันมาสนใจใช้กลยุทธ์การตลาด Data Driven Marketing ต้องมีการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ (Data Analytics) เพื่อนำไปพัฒนา สินค้าหรือการบริการ

กล่าวคือ การตลาดแบบ Data Driven Marketing เป็นเหมือนกระบวนการเก็บรวบรวม ติดตามแก้ไขและการทำ Data Analytics เพื่อนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจต่อไป จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจจึงควรให้ความสำคัญ โดยปัจจุบันนิยมใช้ระบบซอฟแวร์เป็นเครื่องมือช่วย เพราะสามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการทำ Data Driven Marketing นั้นมักเกิดข้อมูลจำนวนมาก จึงได้มีการแบ่งข้อมูลออกมาเป็น 3 ประเภท ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน และมีการนำมาใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันอีกด้วย โดยประเภทข้อมูลแบ่งออกได้ ดังนี้

First Party Data

First Party Data คือ ข้อมูลที่องค์กรเป็นผู้เก็บรวบรวมจากลูกค้าด้วยตัวเองโดยตรง เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทร, อีเมลล์, อาชีพ, ข้อเสนอแนะ ฯลฯ รวมถึงความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า ที่รวบรวมผ่านระบบซอฟแวร์ หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น การเข้าเว็บไซต์ การคลิกบนเว็บไซต์ ฯลฯ

ข้อมูลประเภทนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากและเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Data Driven Marketing มีประโยชน์ในการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคลมากที่สุด องค์กรใดที่ไม่มีการเก็บ First Party Data เท่ากับพลาดโอกาสสำคัญในการทำธุรกิจที่ของยุคนี้

ประโยชน์ First Party Data

  • องค์กรเป็นเจ้าของข้อมูลเองโดยตรง
  • สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างอิสระ เพราะเป็นเจ้าของข้อมูลเองโดยตรง (ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎ PDPA)
  • ล็อคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระดับบุคคล
  • คาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตโดยคำนวณสถิติจากข้อมูลที่บันทึก
  • ข้อมูลมีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้

Second Party Data

Second Party Data คือ First Party Data ของธุรกิจคนอื่น ซึ่งการที่จะนำ Second Party Data มาทำให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจตนเอง ควรคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความคล้ายคลึง เกี่ยวข้อง หรือสามารถเชื่อมโยงเข้ากับธุรกิจของเราได้ โดยวิธีการที่จะได้ข้อมูลส่วนนี้มักจะเป็นการ ซื้อ-ขาย ข้อมูล หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันกับองค์กรที่มีประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน

ประโยชน์ Second Party Data

  • เพิ่มฐานลูกค้าได้จากการหากลุ่มคนที่มีพฤติกรรม ความชอบหรือข้อมูลที่คล้ายกับกลุ่มลูกค้าเดิม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาด
  • สามารถสร้างสรรค์แคมเปญให้เกิดความแปลกใหม่ แตกต่างจากเดิมได้

Third Party Data

Third Party Data คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รับมาจากแหล่งข้อมูลภายนอก วิธีที่จะได้ข้อมูลในส่วนนี้ทำได้โดยการรับซื้อข้อมูลจากศูนย์รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ กลุ่มธุรกิจหรือนิติบุคคล แต่ข้อมูลประเภทนี้ เราจะไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงบุคคลที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้โดยตรง

ประโยชน์ของ Third Party Data

  • เข้าถึงฐานข้อมูลกลุ่มผู้ใช้ได้กว้าง ได้ข้อมูลที่หลากหลาย
  • เป็นข้อมูลที่หาง่าย และพร้อมใช้งาน ไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเอง

สรุปส่งท้าย First, Second และ Third Party Data แบบสั้นๆ

การทำ Data Driven Marketing นั้นต้องอาศัยข้อมูลมาช่วยในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น First Party Data คือ ข้อมูลหลักที่เราเป็นเจ้าของ ที่เราเก็บรวบรวมเอง, Second Party Data ก็คือ First Party Data ของคนอื่น และ Third Party Data ข้อมูลจะแหล่งอื่นที่หาได้ง่าย ขอบเขตของข้อมูลกว้างกว่า Data ประเภทอื่นๆ ในโลกธุรกิจข้อมูลเป็นตัวตัดสินหรือตัวชี้ทางเลยก็ว่าได้ ผู้ที่ถือข้อมูลที่เยอะกว่า ครบกว่าจะสามารถมองเห็นช่องทางการทำกำไรได้มากกว่า แม่นยำกว่า

“ Without big data, you are blind and deaf and in the middle of a freeway.” — Geoffrey Moore

ตัวอย่าง Case Study การนำ Data-Driven มาใช้ประโยชน์จาก Netflix

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาอย่าง Netflix บริการสตรีมมิงที่นำเสนอสื่อเพื่อความบันเทิงหลากหลายแนวที่ประสบความสำเร็จได้โดยมีการนำ Data-Driven มาปรับใช้ในการทำธุรกิจ โดยประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านลูกค้า พฤติกรรมลูกค้า และด้านอื่นๆ สามารถแวะชมคลิปสั้นดีๆจาก JobsDB Thailand ด้านล่างได้เลย

สรุป ความสำเร็จของ Netflix จากการใช้ Data-Driven

  • ด้านลูกค้า : Netflix จะเลือกสื่อที่ลูกค้าชื่นชอบหรือสื่ออื่น ๆ ที่มีความคล้ายกับสิ่งที่ลูกค้าชอบค้นหา แสดงขึ้นบนหน้าฟีด โดยเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล
  • การสร้าง Poster : Netflix จะสร้างโปสเตอร์ที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าประเภทนั้น ๆ
  • การแลกเปลี่ยน Data : มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลลูกค้าซึ่งกันและกันกับกลุ่มกับองค์กรธุรกิจในเครือพันธมิตร
  • ด้านการบริหารธุรกิจ : Netflix จะใช้ Data ในการประชุม และการตัดสินใจในการลงทุน เช่น การที่จะซื้อหนังแต่ละเรื่องมาลงใน Platform ตนเองนั้น อาจจะใช้ข้อมูลจากการดูว่า กลุ่มลูกค้าไหนที่ชอบนักแสดงในหนังเรื่องนั้น และหนังเรื่องนั้นในภูมิภาคต่าง ๆ มีการเข้าชมมากแค่ไหน จากนั้นนำ Data มาคำนวณต่อว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เพื่อให้ได้กำไรตามเป้าหมายที่ต้องการ

RFM Model คืออะไร ? เทคนิคการวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มลูกค้าด้วย RFM Analysis

RFM Model คือหลักการที่ต่อยอดมาจาก Pareto Marketing หรือหลักการที่ให้เรา ลงมือทำเพียง 20% แต่ได้ประสิทธิภาพถึง 80% นั้นหมายความว่า RFM Model เป็นหลักการที่ให้นักการตลาดมุ่งความสนใจหลักไปที่กลุ่มลูกค้าแค่ 20% เป็นลูกค้ากลุ่มแรก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้สามารถทำกำไรให้มากถึง 80% ของลูกค้าทั้งหมด นักการตลาดควรออกโปรโมชันหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมาซื้อของหรือใช้บริการบ่อยๆ แล้วจึงให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มอื่นเป็นอันดับถัดไปนั่นเอง

RFM Model จะช่วยให้เราหากลุ่มลูกค้าที่สำคัญ และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงลูกค้าแต่ละคนได้อย่างดี ทำให้เราใช้ทรัพยากรเงิน เวลา และกำลังคนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด นอกจากนั้นการที่เรามีข้อมูลของลูกค้าแต่ละคน ทำให้เราสามารถออกโปรโมชั่น หรือออกแบบการตลาดได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

RFM Model คืออะไร ? ทำไมถึงจำเป็นต่อธุรกิจ

การให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่มเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะทรัพยากรเงิน เวลา และกำลังคนมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้นักการตลาดต้องหาว่าลูกค้ากลุ่มใดที่มีแนวโน้มที่จะทำรายได้มากถึง 80% เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากที่สุดสำหรับบริษัท นอกจากนั้นแล้วปัญหาการสื่อสารหรือส่งโปรโมชั่นก็ทำได้ยาก เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามีมากมาย แต่ละกลุ่มก็มีความต้องการในเรื่องของโปรโมชั่นที่แตกต่างกัน หากเราใช้ RFM Model จัดกลุ่มลูกค้าได้ จะทำให้สามารถสื่อสารหรือส่งโปรโมชั่นได้ถูกกลุ่มมากยิ่งขึ้น

RFM Model จึงมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้สามารถแยกกลุ่มลูกค้าที่มีความสำคัญกับธุรกิจแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถสื่อสารหรือส่งโปรโมชั่นได้ถูกกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย และทำให้สามารถวางกลยุทธ์สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสร้าง Business Impact ได้มากมายเช่น การเพิ่มรายได้ (Revenue Growth) การกลับมาซื้อซ้ำ (Retention Growth) ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นต้น

RFM Model คือการทำ Customer Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน โดยนำข้อมูลหลัก 3 อย่างมาวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วย Recency Frequency และ Monetary และให้ Score เพื่อจัดอันดับความสำคัญของกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ดังนี้

R – RECENCY

Recency ใน RFM Model คือ ข้อมูลของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ เช่น ลูกค้า A มาซื้อสินค้าเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 เวลา 15.36 น. หากลูกค้าเพิ่งมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการไปเมื่อไม่นานมานี้ Score ที่จะให้ลูกค้ารายนั้นยิ่งสูง เพราะลูกค้าพึ่งจะมี Engage กับเราไป ทำให้ง่ายต่อการส่ง Conversation เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาซื้อสินค้า หรือใช้บริการซ้ำอีกครั้ง

F – FREQUENCY

Frequency ใน RFM Model คือ ความถี่ของลูกค้าในการมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ เช่น ลูกค้า B มาซื้อสินค้า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ลูกค้า C มาซื้อสินค้าทุกวันเป็นประจำ หากลูกค้าคนใดมาใช้บริการบ่อย Score ที่ให้ก็จะยิ่งสูง แต่ข้อควรระวังคือ ต้องดูจำนวนการซื้อที่เกิดขึ้นด้วย เพราะถ้าลูกค้ามาเป็นประจำแต่ไม่ได้ซื้อสินค้า นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกค้ายังไม่มีความไว้วางใจในสินค้าและบริการ นักการตลาดจึงต้องรีบหาทางสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าโดยเร็ว

M – MONETARY

Monetary ใน RFM Model คือ ปริมาณการซื้อหรือใช้บริการของลูกค้า เช่น ลูกค้า D ซื้อสินค้าเพียง 2 ชิ้น แต่ลูกค้า E ซื้อสินค้า 8 ชิ้น ลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่มากกว่า ก็จะยิ่งได้รับ Score ที่สูงกว่า แต่หากซื้อสินค้าหรือใช้บริการน้อย รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการเลย แต่ยังมีการ Engage อยู่ เช่น แวะมาดูสินค้าที่เว็บไซต์ นำสินค้าเข้าตะกร้าแต่ไม่ได้กดชำระเงิน ก็ได้รับ Score น้อย

การแบ่งกลุ่มลูกค้าด้วย RFM Analysis คือ ?

RFM Analysis คือ การนำข้อมูลของลูกค้า 3 อย่างมาวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วย Recency, Frequency และ Monetary จากนั้นจะให้ Score กับลูกค้าแต่ละคน เพื่อจัดอันดับความสำคัญของลูกค้าออกเป็น 11 กลุ่ม แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องทำการตลาดกับลูกค้าทั้ง 11 กลุ่ม บางธุรกิจอาจจะสนใจกลุ่มลูกค้าที่ 1 กับ 2 แต่บางธุรกิจอาจจะสนใจลูกค้ากลุ่มที่ 4 กับ 5 ก็เป็นได้

ดังนั้นการทำธุรกิจที่ดี จึงควรมีการเก็บข้อมูลหรือ Data Driven มาวิเคราะห์ RFM Analysis หากลุ่มลูกค้าที่สำคัญต่อบริษัท เพราะจะช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรเงิน เวลา และกำลังคนที่มีอย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ สามารถทำให้นักการตลาดออกกลยุทธ์ทางการตลาด หรือการทำแคมเปญต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการแบ่งกลุ่มลูกค้าด้วย กลยุทธ์ RFM

เทคนิคการคำนวณที่จะใช้ใน RFM Analysis คือการให้ Score ลูกค้าแต่ละคน ตั้งแต่ 1 จนถึง 5 ใน 3 แกน ได้แก่ Recency, Frequency และ Monetary โดยแต่ละแกนจะคำนวณอ้างอิงกับลูกค้าทุกคนในร้าน ยกตัวอย่างเช่น

ดังนั้นการทำธุรกิจที่ดี จึงควรมีการเก็บข้อมูลของลูกค้านำมาวิเคราะห์ RFM Analysis หากลุ่มลูกค้าที่สำคัญต่อบริษัท เพราะจะช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรเงิน เวลา และกำลังคนที่มีอย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ สามารถทำให้นักการตลาดออกกลยุทธ์ทางการตลาด หรือการทำแคมเปญต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • Recency : ลูกค้า A สั่งซื้อสินค้าล่าสุดวันนี้ จะได้ R Score 5 คะแนน ส่วนลูกค้า B สั่งซื้อสินค้าล่าสุดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จะได้ R Score 1 คะแนน
  • Frequency : ลูกค้า A สั่งซื้อสินค้าบ่อยที่สุดในร้าน จะได้ F Score 5 คะแนน ส่วนลูกค้า B สั่งซื้อสินค้าน้อยครั้งที่สุดในร้าน จะได้ F Score 1 คะแนน
  • Monetary : ลูกค้า A ใช้จ่ายเยอะที่สุดในร้าน จะได้ M Score 5 คะแนน ส่วนลูกค้า B ใช้จ่ายน้อยที่สุดในร้าน จะได้ M Score 1 คะแนน

เทคนิคการคำนวณที่จะใช้ใน RFM Analysis คือการให้ Score ลูกค้าแต่ละคน ตั้งแต่ 1 จนถึง 5 ใน 3 แกน ได้แก่ Recency, Frequency และ Monetary โดยแต่ละแกนจะคำนวณอ้างอิงกับลูกค้าทุกคนในร้าน ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อเราให้ R Score, F Score และ M Score กับลูกค้าทุกคนแล้ว เราก็จะนำข้อมูลลูกค้าแต่ละคนมาจัดเข้ากลุ่มด้วยตาราง 5×5 ช่อง โดยใช้

  • R แทนค่าในแกน X
  • (F+M)/2 แทนค่าในแกน Y

ตาราง RFM Analysis มีทั้งหมด 25 ช่อง (5×5) โดยอ้างอิงจาก Score ในแกน X และแกน Y ของลูกค้าแต่ละคน เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของลูกค้า เมื่อหา Score ของลูกค้าแต่ละคนได้แล้ว ลูกค้าแต่ละคนก็จะถูกจัดเข้ากลุ่มนั้นๆโดยทันที

การทำ RFM Analysis ให้มีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก่อน เพราะเราควรแยก Message ให้สัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ถึงแม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะเคยซื้อสินค้า และเป็นลูกค้าที่เคยใช้จ่ายเหมือนกัน แต่พฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน ทำให้เราควรแยกโจทย์หรือจุดประสงค์ในการพูดคุยไว้ด้วย ซึ่งเราขอยกตัวอย่างกลุ่มลูกค้าออกเป็น 11 กลุ่มประกอบไปด้วย1. Champions

ใน RFM Model กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ คือ กลุ่มลูกค้าที่สำคัญที่สุด เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการไป นอกจากนั้นยังมีอัตราการซื้อซ้ำ และปริมาณการใช้จ่ายสูงที่สุดอีกด้วย
คำแนะนำ : ควรรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ไว้ให้ดีที่สุด ห้ามปล่อยลูกค้ากลุ่มนี้ไปหาคู่แข่งเด็ดขาด2. Loyal Customers

คือ กลุ่มลูกค้าที่มีอัตราการใช้จ่าย และอัตราการซื้อซ้ำที่สูงกว่าลูกค้าทั่วไป ถึงแม้ว่าเร็วๆนี้ลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการบ้างก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นลูกค้ากลุ่ม 20% ตามหลักของ Pareto
คำแนะนำ : ทำความเข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้ว่าแต่ละคนชอบอะไร เหตุผลที่เขาซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากเราคืออะไร จากนั้นจึงทำการสื่อสารให้ตรงจุดกับลูกค้า และอย่าลืมมอบโปรโมชั่นหรือสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้เสมอ3. Potential Loyalist

คือ กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการบ่อย แต่ลูกค้ากลุ่มนี้พึ่งมีการสั่งซื้อเข้ามา และมียอดใช้จ่ายที่สูงพอสมควร นั่นทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะขยับขึ้นไปเป็น Loyal Customers
คำแนะนำ : ควรเร่งสร้างความประทับใจ ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้เชื่อมั่นว่าเราใส่ใจและให้ความสำคัญกับ Value proposition ที่เราเสนอ เพื่อให้เขาขยับขึ้นไปเป็น Loyal Customers นั่นเอง4. New Customers

คือ กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งสั่งซื้อไปไม่นานมานี้ และเป็นออเดอร์แรกๆของลูกค้าด้วย ลูกค้ากลุ่มนี้จึงอาจจะยังไม่กล้าใช้จ่ายในมูลค่าที่สูงมากนัก จึงเป็นกลุ่มที่ง่ายที่สุดในการสร้าง Positive brand experience
คำแนะนำ : ควรเร่งสร้างความประทับใจ ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกว่าคิดไม่ผิดที่ซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา และอย่าให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกเคว้งคว้าง หรือสงสัย หาทางไปต่อไม่เจอหลังจากที่ซื้อสินค้ากับเราแล้ว5. Promising

คือ กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการครั้งแรกไปไม่นานเท่าไหร่ แต่มีอัตราการซื้อซ้ำ และมูลค่าการใช้จ่ายที่ยังต่ำอยู่ ลูกค้ากลุ่มนี้สนใจสินค้าและบริการของเรา แต่ไม่มากพอที่จะเอาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา
คำแนะนำ : นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกับ Personalization กับลูกค้าให้มากขึ้น แล้วทำ Upsell หรือ Re-Purchase แคมเปญอ้างอิงถึงสินค้าเดิมที่เคยซื้อไป6. Need Attention

คือ กลุ่มลูกค้าที่มียอดการสั่งซื้อ, อัตราการซื้อซ้ำ และช่วงเวลาของการซื้อครั้งล่าสุดอยู่ที่ค่าเฉลี่ยพอดี หากเราไม่ Engage ลูกค้ากลุ่มนี้ อาจจะทำให้เขาสูญเสียความสนใจที่มีต่อสินค้าหรือบริการของเราได้
คำแนะนำ : ให้ข้อเสนอแบบจำกัดเวลาเพื่อกระตุ้นการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ หรือนำเสนอประโยชน์ของสินค้าที่เคยซื้อไปในแง่มุมอื่น เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้เกิดความสนใจในสินค้าหรือบริการของเรามากยิ่งขึ้น7. About to Sleep

คือ กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้มีการสั่งซื้อมาสักพัก ถึงแม้ว่ายอดการซื้อซ้ำ และมูลค่าของออเดอร์ที่ผ่านมาของลูกค้ากลุ่มนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ก็ยังถือว่าเป็นฐานลูกค้าของเราอยู่ หากไม่รีบดึงกลับมา ลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะหายไปอย่างแน่นอน
คำแนะนำ : ให้ข้อเสนอแบบจำกัดเวลาสำหรับสินค้ายอดยินม หรือทำ Re-Purchase แคมเปญอ้างอิงถึงสินค้าเดิมที่เคยซื้อไปสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้8. Can’t Lose

คือ กลุ่มลูกค้าที่เคยเป็น Champions ที่มีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการบ่อยมากๆ และมีมูลค่าการใช้จ่ายสูงที่สุดในร้าน แต่ไม่ได้กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการนานมากๆแล้วเช่นกัน อาจเป็นไปได้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ไปซื้อสินค้าของคู่แข่ง หรือเกิดความไม่พอใจจากความผิดพลาดของสินค้าหรือบริการของเรา
คำแนะนำ : ต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โทรไปคุยเป็นรายบุคคล หรือให้โปรโมชั่นพิเศษมากๆกับเขา เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมาให้ได้9. At Risk

คือ กลุ่มลูกค้าที่เคยมียอดใช้จ่าย และการซื้อซ้ำที่สูงมาก แต่ไม่ได้กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเลยในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นไปได้ว่าในช่วงที่ผ่านมามีอะไรบางอย่างที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ลืมเราไป
คำแนะนำ : หาให้เจอว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วเราต้องทำยังไงเพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมา อาจจะออก Exclusive promotion สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ และแนะนำให้รีบกลับไปดูการบริการ, คุณภาพของสินค้า และ Customer journey หากลูกค้าในกลุ่มนี้มีจำนวนเยอะมากๆ10. Hibernating

คือ กลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการไปเมื่อนานมาแล้ว ปริมาณการซื้อและความถี่ในการซื้อน้อย แต่อาจจะคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้ที่จะดึงลูกค้ากลุ่มนี้กลับมา เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ยังจำเราได้ และประวัติการสั่งซื้อไม่ได้เลวร้ายเลย
คำแนะนำ : ให้ Recreate Brand Value กับลูกค้ากลุ่มนี้อีกครั้ง โดยเน้นจุดยืนถึงวิธีการแก้ไขปัญหาของเรา ลองทำโปรโมชั่นแบบจำกัดเวลาสำหรับสินค้ายอดนิยมหรือการทำ re-purchase แคมเปญอ้างอิงถึงสินค้าเดิมที่เคยซื้อไป11. Lost

คือ กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเลย และจำนวนกับมูลค่าของออเดอร์ที่เคยสั่งซื้อไปก็ยังต่ำมากๆ เป็นไปได้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้เลิกใช้สินค้าของเราไปแล้ว หรือหันไปใช้สินค้าหรือบริการจากคู่แข่งของเรา ไม่ก็อาจจะมีความรู้สึกที่เป็นลบต่อแบรนด์และสินค้าของเรา ซึ่งถือเป็นเรื่องยากมากที่จะ Engage ให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมาอีกครั้ง
คำแนะนำ : ลองทำแคมเปญทางการตลาดออนไลน์หาลูกค้ากลุ่มนี้เพื่อกระตุ้นเรียกกลับมาใช้งาน แต่ถ้าไม่ได้ผลก็ตัดใจปล่อยลูกค้ากลุ่มนี้ไป

ตัวอย่างกลุ่มลูกค้าที่เรายกตัวอย่างมานั้น สามารถตั้งกลุ่มจัดกลุ่มลูกค้าและเพิ่มหรือลดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจของเรา แต่ว่าการเก็บข้อมูลลูกค้า เทคนิคการคำนวณ การให้คะแนนลูกค้าแต่ละคน และการแทนค่าในสูตร RFM Analysis นั้นก็ยังคงใช้เหมือนเดิม

เพราะเหตุนี้เราควรนำ RFM Model มาใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้า ประกอบควบคู่กับ โปรแกรมคลินิก ที่ทันสมัย จะช่วยให้วิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมายหลักที่สำคัญกับธุรกิจของเรา และทำให้เราไม่เสียเวลาและทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

CRM คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ในธุรกิจบริการ

เนื่องจากปัจจุบันการทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสื่อโฆษณา การตัดราคา การออกแคมเปญต่าง ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ให้เลือกใช้จำนวนมาก ทำให้สามารถค้นหา เปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ และราคาบริการที่ใกล้เคียงกันได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้น องค์กรธุรกิจจึงต้องมีสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจและประทับใจมากที่สุด จนทำให้เกิดการบริโภคซ้ำ ๆ จากผู้บริโภคกลายเป็นลูกค้า จากลูกค้ากลายขาจรเป็นลูกค้าประจำ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเสนอสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการบริการ หรือในบางกรณีอาจไปถึงขั้นหลังบริการ ทั้งหมดนี้จึงทำให้เกิด “ระบบ CRM” ขึ้น

CRM คืออะไร ?

ระบบ CRM (Customer Relationship Management) คือ การผสานระหว่างเทคโนโลยี (ระบบหรือซอฟต์แวร์) และ แผนวิธีการ เพื่อทำความเข้าใจและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น ความต้องการ เพศ อายุ ความสนใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบริการเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งควรควบคู่กับ โปรแกรมคลินิก เพื่อนำมาใช้ในธุรกิจคลินิกเป็นอย่างมาก

ซึ่งโดยปกติแล้วในการทำธุรกิจต่าง ๆ มักจะต้องมีฐานเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมลล์ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ หลาย ๆ ที่อาจจะเก็บฐานข้อมูลเหล่านี้ ไว้ใน Spreadsheet เช่น Excel หรือเลือกเก็บข้อมูลไว้ในสมุด จดบันทึกลงกระดาษ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงลึก (Data Driven Marketing) และนำมาขับเคลื่อนธุจกิรด้วย ระบบ CRM เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้ทะลุเป้า

ทำไมถึงต้องนำ CRM มาปรับใช้ในการทำธุรกิจบริการ

การทำโฆษณาบนโลกออนไลน์นั้นมีหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากนั่นก็คือ การยิง Ads แต่วิธีนี้ทุกองค์กรธุรกิจก็สามารถทำได้เหมือน ๆ กัน การยิงแอดจึงไม่ใช่คำตอบเพียงหนึ่งเดียวในการดึงดูดลูกค้า และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของ ความอ่อนไหวต่อราคาของลูกค้า (Price Sensitive) ที่ธุรกิจคู่แข่งมักมีการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อมาดึงดูดลูกค้าเช่นกัน

ซึ่งเป็นเรื่องดี หากสามารถเปลี่ยนลูกค้าใหม่ขาจร ที่ส่วนใหญ่จะเข้ามาจากการจัดโปรโมชั่น ให้กลายเป็นลูกค้าประจำ อย่างไรก็ตามธุรกิจบริการยังควรให้ความสนใจเรื่อง CLV (Customer Lifetime Value) เนื่องจากมีการ Research แล้วพบว่า โดยเฉลี่ยลูกค้าเก่าจะจ่ายเงินกับธุรกิตบริการมากกว่ากลุ่มลูกค้าใหม่ 67% ยกตัวอย่างเช่น คลินิก คงลูกค้าเก่า 100คน ซึ่งมียอดเฉลี่ยการจ่ายเงินให้คลินิกปีละ 60,000-70,000 บาท ต่อคน จะสามารถรักษารายได้ จากลูกค้ากลุ่มนี้ถึงเฉลี่ย 7 ล้านต่อปี

เพราะเหตุนี้จึงต้องมีการนำกลยุทธ์ CRM มาใช้ในธุรกิจบริการ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ให้ได้ ช่วยให้ธุรกิจรู้ถึงพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ ทำการตลาด และพัฒนาการบริการต่อไป ซึ่งโปรแกรมคลินิกที่ทันสมัย จะนำกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะธุรกิจบริการอย่างคลินิกเพื่อทำให้มีโอกาสทางธุรกิจ สร้างกำไรในระยะยาว และ ทางDoctorEase มีเทคนิคการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจคลินิก ร้านความงาม ที่บทความนี้เลย 5 เทคนิคเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจคลินิก

CRM สำคัญกับคลินิกอย่างไร ?

ในวงการธุรกิจบริการ หรือคลินิกนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีเครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบในการประกอบธุรกิจบริการ หรือธุรกิจคลินิกที่คล้ายกัน แต่สิ่งที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กรก็ คือ โปรแกรมคลินิก CRM ที่ช่วยในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปพัฒนาการบริการให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

ปัจจุบันโปรแกรมคลินิก CRM นั้นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นคลินิกเสริมความงาม ปรับแต่งรูปหน้า คลินิกศัลยกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกเวชกรรม เป็นต้น เพราะตอบโจทย์กับธุรกิจบริการสมัยใหม่และง่ายต่อการจัดการข้อมูล

ประโยชน์ของการใช้ CRM ในการทำธุรกิจบริการ

ระบบ CRM เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการงานขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจัดการด้านอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการลูกค้า ช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างเป็นระบบ สะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วย ตัวอย่างประโยชน์จากการใช้ระบบ CRM ในการทำธุรกิจบริหาร ดังนี้

การจัดการกลุ่มเป้าหมายด้วยระบบ CRM

ระบบ CRM ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญในการติดตามลูกค้า เป็นหัวใจหลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เมื่อสามารถกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ก็สามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ปิดการขายได้ CRM จึงตอบโจทย์กับธุรกิจเป็นอย่างมากในยุคนี้

ใช้ระบบ CRM ผนวกด้วยการรวบรวมดาต้าของลูกค้า และกลยุทธ์ Data Driven Marketing จะทำให้ธุรกิจได้ทราบถึงตัวเลขและข้อมูลในการใช้บริการของลูกค้า จำนวนการซื้อ พฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า ซึ่งระบบ CRM จะมาช่วยในการ กรองกลุ่มเป้าหมาย ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การรักษาฐานลูกค้าเดิมและสร้างฐานลูกค้าใหม่

เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจและลูกค้า

เมื่อเรามีข้อมูลจากโปรแกรม CRM แล้ว เราจะสามารถเข้าใจและตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกค้าได้มากขึ้น หรือบางทีอาจจะรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ก่อนที่ลูกค้าจะรู้ตัวว่าพวกเขาต้องการอะไร ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสในการทำให้ลูกค้าพึงใจ

เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ รักษาฐานลูกค้าเดิม

โปรแกรม CRM สามารถรวบรวมและบันทึกข้อมูลเชิงลึกได้จำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า แนวโน้มความต้องการในอนาคต และเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อแบรนด์ (Customer loyalty) หรือดึงลูกค้าขาจรให้เข้ามาใช้บริการ

เมื่อองค์กรและลูกค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จะส่งผลให้สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับองค์กรไว้ได้ อย่างต่อเนื่อง และอาจจะยังเพิ่มโอกาส Up Selling หรือ Down Selling ในอนาคตได้อีกด้วย

พัฒนาและยกระดับศักยภาพในการให้บริการ

ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในระบบ CRM ทำให้ในองค์กรสามารถทราบถึงข้อมูลการใช้บริการของลูกค้า เช่น ยอดการใช้บริการในแต่ละเดือน บริการที่เลือกทำ ความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังใช้บริการ ความชื่นชอบของลูกค้าที่มีต่อการบริการ คำติชม ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ พัฒนา และต่อยอดการบริการได้

วิเคราะห์การเลือกใช้สื่อโฆษณา

นอกจากระบบ CRM จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยวิเคราะห์สื่อโฆษณาให้กับองค์กรได้อีกด้วย ว่าสื่อโฆษณาแบบไหนที่เหมาะกับองค์กร วิเคราะห์ประมาณการใช้ทุน ผลตอบแทน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ตรงกลุ่มเป้าหมาย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

ทำให้องค์กรสื่อสารและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบ CRM ช่วยให้ทำงานนั้นง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รู้ถึงดาต้าข้อมูลของลูกค้า เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้ตรงจุด ถูกเป้า และตอบโจทย์โดนใจของลูกค้า ระบบ CRM นอกจากจะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแล้ว ยังช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้นอย่างเช่น ระบบที่เชื่อมต่อกับ Line OA เพื่อสื่อสารกับลูกค้า ส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้า

โปรแกรมคลินิก คืออะไร? โปรแกรมคลินิกสมัยใหม่ที่ดีควรมีอะไรบ้าง

โปรแกรมคลินิก หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การบริหารจัดการคลินิกต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบคลินิกมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แต่จะมีการพัฒนาและออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการใช้งานภายในคลินิกกว่ามาก จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากบรรดาคลินิกต่าง ๆ ในปัจจุบัน

โปรแกรม คลินิกนอกจากจะทำให้การดำเนินการภายในคลินิกเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังมีหน้าที่ในการบริหารจัดการและการให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการมีระบบรองรับลูกค้าที่ทันสมัย ง่ายต่อการใช้งาน สร้างความสะดวกสบายต่อลูกค้าและบุคลากรในคลินิกด้วยฟังก์ชันอัตโนมัติ

สารบัญเนื้อหา

1. โปรแกรมคลินิกคืออะไร?

2. โปรแกรมคลินิก ต้องมีฟังก์ชั่นครอบคลุมอะไรบ้าง

3. โปรแกรมคลินิก มีกี่ประเภท มีตัวเลือกในตลาดอะไรบ้าง

โปรแกรมคลินิกคืออะไร?

โปรแกรมคลินิก หรือระบบคลินิก เป็นระบบบริหารจัดการคลินิกอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เหนือชั้นด้วยฟังก์ชันที่ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงานภายในคลินิก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วให้แก่บุคลากรภายในคลินิกได้เป็นอย่างดี ช่วยให้การทำงานภายในคลินิกเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีบริการทีมงานซัพพอร์ตที่จะคอยให้ความช่วยเหลือตลอดการใช้งาน

นอกจากนี้โปรแกรม คลินิกยังเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในคลินิกได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยให้คลินิกเพิ่มยอดขายและกำไรได้มากขึ้น จากผลการวิเคราะห์การตลาดที่ทันสมัย ผ่านการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มลูกค้า ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) และ Line Notify

โปรแกรมคลินิก ต้องมีฟังก์ชั่นครอบคลุมอะไรบ้าง

โปรแกรมคลินิก หรือระบบคลินิก ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบันจะมีฟังก์ชันการทำงานที่จำเป็นที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่าง ๆ ในคลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ฟังก์ชัน ได้แก่

ระบบแฟ้มประวัติ ระบบบริหารจัดการคนไข้

ระบบบริหารจัดการคนไข้เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันที่โดดเด่นของโปรแกรม คลินิก เนื่องจากเป็นระบบที่จะช่วยจัดเก็บข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา และข้อมูลติดต่อ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะเป็นการลดภาระงานและประหยัดเวลาในการซักประวัติของคนไข้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ระบบ คลินิกยังมีการจัดการแฟ้มประวัติคนไข้อัตโนมัติด้วย เครื่องอ่านบัตรประชาชน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในการทำทะเบียนของคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการคีย์ข้อมูลแบบเก่า ๆ อีกด้วย

อีกทั้งโปรแกรมคลินิกยังมีระบบประวัติเวชระเบียนแบบ Paperless ผ่านการทำงานด้วย iPad ในแอปพลิเคชันเฉพาะทาง จึงมีความทันสมัย ปลอดภัย และสะดวกต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น จากการแสดงเวชระเบียน (OPD Card) ได้ทันที ช่วยให้บันทึกผลการวินิจฉัย และทำการสั่งจ่ายยาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากจะเป็นการลดภาระงานของแพทย์แล้ว ยังง่ายต่อการนำข้อมูลไปใช้งานเป็นอย่างมาก

ระบบนัดหมายคนไข้ และแพทย์

โปรแกรม คลินิกมีระบบนัดหมายคนไข้อัตโนมัติผ่าน Line Official ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาระงานในการนัดหมายลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มการเชื่อมต่อ และพูดคุยกับลูกค้าให้มากขึ้น โดยลูกค้าจะสามารถเลือกวันนัดหมาย ยืนยันการนัด และแก้ไขวันนัดได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ระบบ คลินิกยังมีการแจ้งเตือนนัดหมายลูกค้าอัตโนมัติเมื่อใกล้ถึงกำหนด และการแจ้งโปรโมชั่นและดีลต่าง ๆ สำหรับลูกค้าเป็นรายบุคคลอีกด้วย

นอกจากระบบนัดหมายจากโปรแกรมคลินิกจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ด้วยเช่นเดียวกัน ผ่านตารางการทำงานแพทย์ ที่จะช่วยแจ้งเตือนตารางเวรของแพทย์แต่ละบุคคล นับได้ว่าเป็นผู้ช่วยเตือนความจำที่ดีให้กับแผนกเวชระเบียนและแพทย์เป็นอย่างมาก

ระบบคลังสินค้า

ในปัจจุบันโปรแกรม คลินิกได้นำฟังก์ชันระบบคลังสินค้าที่จะช่วยให้การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าภายในคลินิกมีความสะดวกสบาย และแม่นยำมากยิ่งขึ้นมาปรับใช้งาน ผ่านการรายงานข้อมูลที่สำคัญที่มีการอัปเดตอยู่เสมอ เช่น ข้อมูลการรับ-จ่ายยาภายในคลินิก เป็นต้น

ระบบคลังสินค้าในโปรแกรมคลินิกยังมีการแจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมดสต๊อก การบริหารคลังสินค้านี้ซึ่งจะช่วยให้ทางคลินิกสามารถป้องกันการขาดสต๊อกของสินค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนและพื้นที่จัดเก็บจากการสำรองสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ระบบ คลินิกยังมีการแจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดความเสี่ยงในการจ่ายยาที่ไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าอีกด้วย

ระบบการสำรองข้อมูลและความปลอดภัย

ระบบ Cloud เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านความปลอดภัยที่โปรแกรมคลินิกต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันได้มีการนำมาปรับใช้ร่วมกัน เนื่องจากเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ที่จะช่วยให้คลินิกสามารถเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นความลับ ผ่านการแยกข้อมูลในรูปแบบส่วนตัว โดยไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ร่วมกับลูกค้าคลินิกอื่น ๆ

นอกจากระบบรักษาความปลอดภัยแล้ว การเลือกระบบคลินิกที่มีการสำรองข้อมูล (Back up) โดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันในกรณีที่ข้อมูลเกิดความเสียหาย ทางคลินิกก็จะสามารถนำข้อมูลสำรองในส่วนนี้มาใช้งานได้ในทันที ส่งผลให้การทำงานภายในคลินิกไม่เกิดการติดขัด และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด

ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดภายในโปรแกรม คลินิกจะช่วยให้คลินิกสามารถจัดการด้านการเงินได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการรายงานผลแดชบอร์ด (Dashboard) แบบเรียลไทม์ที่ง่ายต่อการเข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รายได้, ค่าใช้จ่าย, ผลกำไร, รายการธุรกรรมทางการเงิน, ค่าคอมมิชชัน และค่าส่วนแบ่งของหมอ เป็นต้น

อีกหนึ่งความโดดเด่นของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดจากระบบ คลินิก คือ การดำเนินธุรกิจที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย และกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากข้อมูลรายการยอดนิยม, จำนวนผู้เข้าใช้บริการ และผู้ใช้จ่ายสูงสุด (Top Spender) ซึ่งทางคลินิกจะสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้ไปวิเคราะห์ เพื่อทำการตลาดที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการตลาดแบบเจาะกลุ่มลูกค้าต่อไป

ระบบการชำระเงิน

ระบบการชำระเงินของโปรแกรม คลินิกในปัจจุบัน จะช่วยจัดการธุรกรรมทางการเงินของคลินิกจากการเชื่อมต่อช่องทางชำระเงินให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เงินสด, โอนผ่านธนาคาร, บัตรเครดิต หรือประกันสังคม เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

การชำระเงินของระบบคลินิกจะช่วยบันทึกค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบครัน นอกจากนี้ในทุก ๆ การดำเนินธุรกรรมทางการเงินในโปรแกรมคลินิกจะเชื่อมต่อกับ เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ ทำให้สามารถออกใบเสร็จ คลินิก ที่มีโลโก้ของคลินิก รวมถึงสามารถพิมพ์ใบกำกับภาษีทั้งแบบย่อ และแบบเต็มได้ทันที

โปรแกรมคลินิก มีกี่ประเภท มีตัวเลือกในตลาดอะไรบ้าง

โปรแกรม คลินิกที่ได้รับความนิยมจากคลินิกต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

โปรแกรมคลินิก แบบออนไลน์ (Cloud)

โปรแกรม คลินิกรูปแบบออนไลน์ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อคลาวน์ (Cloud) เป็นระบบคลินิกที่มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ (Host provider) ซึ่งมีการให้บริการคล้ายการเป็นระบบกลางของสาขา ในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางเบราว์เซอร์ โดยไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรม จึงช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน รวมถึงช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้โปรแกรมคลินิกรูปแบบนี้จะมีการประมวลผลอยู่เสมอ คลินิกต่าง ๆ จึงสามารถอัปเดตข้อมูล รวมถึงระบบการทำงานได้ทันที ทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ก่อนใคร อีกทั้งยังรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว จากความยืดหยุ่นในพื้นที่เก็บข้อมูล ที่มาพร้อมการรักษาความปลอดภัยและสำรองข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากโปรแกรม คลินิกรูปแบบออนไลน์ (Cloud) มีคุณสมบัติที่โดดเด่นมากมาย และสามารถครอบคลุมการทำงานภายในคลินิกได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมและความไว้วางใจจากเหล่าระบบ คลินิกเป็นอย่างมากในปัจจุบัน รวมถึง DoctorEase ของเราก็เลือกใช้โปรแกรมคลินิกประเภทนี้เช่นเดียวกัน

โปรแกรมคลินิก Software แบบสำเร็จรูป

โปรแกรม คลินิกรูปแบบ Software สำเร็จรูป มีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกับซอฟต์แวร์ทั่วไป ที่จะต้องดำเนินการติดตั้งโปรแกรม รวมถึงทำการตั้งค่าระบบต่าง ๆ ก่อนการใช้งาน ระบบ คลินิกรูปแบบนี้มีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น สเปกเครื่องคอมพิวเตอร์, ระบบปฏิบัติการ เป็นต้น

นอกจากนี้ในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้งานหลังการติดตั้ง จากการเพิ่มฟังก์ชันนอกเหนือจากที่มีอยู่ ทางคลินิกจำเป็นจะต้องปรับแต่งระบบเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้อาจจะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลให้โปรแกรมคลินิกรูปแบบ Software สำเร็จรูป ไม่ได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเทียบเท่ารูปแบบออนไลน์ (Cloud)